วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
        
การประยุกต์ใช้โครงงานกับเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
การนำโครงงานมาประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสามารถทำได้จากการที่นักเรียนเป็นผู้เลือกโครงงานที่สนใจทำให้โครงงานที่ได้ประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง ฝึกให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และส่งเสริมให้มีภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น พัฒนาคนให้รู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคมทำให้โครงงานมีความยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ

1. ความพอประมาณในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้พอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดโทษ โดยจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นมากที่สุด

             
              2. ความมีเหตุผล ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำโครงงานนั้นจะต้องมีการวางแผนในการทำโครงงานอย่างเป็นขั้นตอน โดยการทำโครงงานนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลซึ่งจะต้องรู้ว่าผลของโครงงานที่ได้จะเกิดผลดีกับผู้ที่สนใจอย่างไรและมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
 
  3.  ภูมิคุ้มกันในการใช้เทคโนโลยี เราจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีถูกต้องและเนื้อหาความรู้มากที่สุดเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเราจะต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างระมัดระวังและรอบคอบมากที่สุด

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

- ความรอบรู้
                          รอบรู้เรื่องการทำโครงงาน  การใช้คอมพิวเตอร์  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์มากที่สุด
 
   -ความรอบคอบ
               รู้จักการคิด  การวางแผนในการปฏิบัติงานรู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา   จะได้รู้จัก และเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ

  -ระมัดระวัง
          รู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง  ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกต้องและเกิดผลเสียที่จะตามมา
         
2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
-ความซื่อสัตย์/สุจริต
          ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะต้องรู้จักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู่อื่นมากที่สุด และพยายามให้มีข้อผิดพลาดจากการใช้เทคโนโลยีน้อยที่สุด
-ขยัน/อดทน
          ในการทำโครงงานนั้นเราควรมีความรับผิดชอบและมีความขยัน อดทนในการทำโครงงานเพื่อให้โครงงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อให้โครงงานที่ได้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนด
-แบ่งปัน
          เมื่อเราทำโครงงานเสร็จแล้วเราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานไปเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ โรงเรียน หรือชุมชนต่างๆที่สนใจในโครงงานคอมพิวเตอร์

 สรุป
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา  เป็นการเตรียมตัวในการจัดการศึกษาเพื่อทำให้การศึกษาเข็มแข็ง และสามารถสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด โดยอาศัยการประยุกต์ใช้หลักพอประมาณ หลักมีเหตุผล ตลอดจนทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี